การปกป้องปอดระหว่างการผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน - การปกป้องปอดระหว่างการผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน - วิธีการให้ยาสลบที่ถูกปรับเปลี่ยน

การปกป้องปอดระหว่างการผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน

ดาวน์โหลดสมุดปกขาว

สรุป

โรคอ้วนกลายเป็นความท้าทายด้านสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก และคาดว่าผู้คนจะเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น 1 จำนวนคนน้ำหนักเกินและคนอ้วนโดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 857 ล้านคนในปี 2523 เป็น 2,100 ล้านคนในปี 2556 2 ผู้ป่วยโรคอ้วนต้องพบกับความท้าทายบางอย่างและต้องการการดูแลระหว่างผ่าตัด เนื่องจากพวกเขามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้การให้ผู้ป่วยโรคอ้วนอยู่ในท่านอนหงายจะยิ่งไปลดความยืดหยุ่นของเนื้อปอด ดังนั้นแพทย์จึงต้องใช้วิธีการต่างๆ ในการช่วยหายใจและจัดตำแหน่งตัวผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการให้ออกซิเจนก่อนนำสลบ การนำสลบ และการฟื้นตัวที่ดียิ่งขึ้น จากงานวิจัยในปัจจุบัน เราจะพูดถึงวิธีลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคอ้วน

การช่วยหายใจพร้อมปกป้องปอดของผู้ป่วยโรคอ้วนระหว่างการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

เนื่องจากมีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดก็มากขึ้น และทำให้เกิดความท้าทายยิ่งขึ้นสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ค่อนข้างร้ายแรง (ดัชนีมวลกายมากกว่า 40.0 kg.m2) จะมีปริมาตรปอดที่ลดลง ถุงลมปอดบริเวณปอดล่างสุดแฟบ และการช่วยหายใจ/การกำซาบเลือดที่ไม่เข้ากัน ในขณะเดียวกัน การใช้ออกซิเจนและการทำงานของระบบหายใจที่เพิ่มขึ้น³ สิ่งนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกายและทำให้ผู้ป่วยโรคอ้วนมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดอย่างรุนแรง³ อาจมีการพิจารณาเปลี่ยนกลยุทธ์ในการให้ออกซิเจนก่อนนำสลบและการนำสลบแก่ผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากจะเกิดภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำอย่างรวดเร็วในปอด และการจัดการทางเดินหายใจอาจทำได้ยากขึ้น

ระยะการนำสลบของผู้ป่วยโรคอ้วน: สิ่งที่เราควรคำนึงถึง

การนำสลบมาตรฐานจะมีขั้นตอนต่างๆ คือการให้ออกซิเจนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนนำสลบ ต่อด้วยการให้ยาสลบ การทดสอบการช่วยหายใจแบบ manual และการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือการวางอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง (supraglottic airway) แนวทางตามมาตรฐานนี้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่การให้ออกซิเจนและช่วยหายใจก่อนการผ่าตัดและการช่วยหายใจของผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นอาจมีความซับซ้อนและมีปัจจัยเสี่ยงที่พูดถึงบ่อยในเรื่องการใช้หน้ากากช่วยหายใจและ/หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ 4 นอกเหนือจากความท้าทายทางเทคนิคแล้ว ปริมาตรปอดที่ลดลง (เช่น FRC) ความไม่สอดคล้องกันที่เพิ่มขึ้นของการช่วยหายใจและการกำซาบ และภาวะร่วมทางเดินหายใจทำให้การนำสลบและการจัดการทางเดินหายใจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการขาดออกซิเจนและภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจอื่นๆ5 ดังนั้น อาจต้องมีการปรับวิธีการให้เหมาะกับสรีรวิทยาของผู้ป่วยโรคอ้วนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด

เอกสารปกขาวเกี่ยวกับการให้ออกซิเจนก่อนนำสลบและการนำสลบอย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยโรคอ้วน

การให้ออกซิเจนก่อนนำสลบและการนำสลบอย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยโรคอ้วน

อ่านเกี่ยวกับความท้าทายที่วิสัญญีแพทย์ต้องเผชิญเมื่อรับมือกับผู้ป่วยโรคอ้วน และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่มีอยู่ในการจัดการเคสเหล่านี้อย่างปลอดภัยและดีที่สุด รวมถึงคำแนะนำในการให้ออกซิเจนก่อนนำสลบและการนำสลบ

ดาวน์โหลดสมุดปกขาว

ดาวน์โหลดที่แนะนำเพิ่มเติม

ข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยี: รายงานการนำสลบในผู้ป่วยโรคอ้วน
ข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยี: การนำสลบในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน

อ่านเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการช่วยคุณจัดการผู้ป่วยโรคอ้วนในระหว่างการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

ดาวน์โหลดรายงาน

อินโฟกราฟิก โรคอ้วนกับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
อินโฟกราฟิก โรคอ้วนกับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

เป็นที่รู้กันมากขึ้นว่าผู้ป่วยโรคอ้วนต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างการผ่าตัด มาดูสรุปของเราที่เกี่ยวกับการจัดการผู้ป่วยโรคอ้วนทั้งก่อนและหลังผ่าตัด

ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิก

การช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนระหว่างการผ่าตัด ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับปอดหลังผ่าตัด

ลักษณะเฉพาะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของผู้ป่วยโรคอ้วนมีผลต่อกระบวนการระงับความรู้สึกทั่วร่างกายทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายหรือท่าศีรษะต่ำ FRC และ EELV อาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากจำนวนถุงลมปอดแฟบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในปอดอย่างรุนแรงหลังผ่าตัด

เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว การช่วยหายใจพร้อมการปกป้องปอดจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะปอดแฟบและเพื่อให้แน่ใจว่ามีการช่วยหายใจที่เพียงพอระหว่างที่ใช้พารามิเตอร์ที่แนะนำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีแรงดันต่ำ) การเปิดปอดที่แฟบ (RM) ช่วยให้ความยืดหยุ่นของปอดเพิ่มขึ้นหรือเป็นปกติ หากปฏิบัติอย่างถูกต้อง RM สามารถเพิ่ม FRC ได้โดยการเปิดพื้นที่ปอดที่แฟบ ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและทำให้ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดกับความยืดหยุ่นของทางเดินหายใจดีขึ้น

เอกสารปกขาวเกี่ยวกับการช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนระหว่างการผ่าตัด

การช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนระหว่างการผ่าตัด

เอกสารปกขาวนี้มุ่งเน้นไปที่การช่วยหายใจในระหว่างที่อยู่ในระยะคงสภาพการสลบ คุณจะได้เห็นภาพรวมของลักษณะทางคลินิกที่สำคัญในการลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคอ้วนขณะช่วยหายใจระหว่างการผ่าตัด คุณจะได้อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและคำแนะนำเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของการปกป้องผู้ป่วยโรคอ้วนระหว่างช่วยหายใจในห้องผ่าตัด

ดาวน์โหลดสมุดปกขาว

ผู้ป่วยโรคอ้วนระหว่างการฟื้นตัวและในระยะหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยโรคอ้วนไม่เพียงต้องการแนวทางที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพวกเขา ในระหว่างการให้ออกซิเจน การนำสลบ และการคงสภาพการสลบ พวกเขาต้องการเทคนิคการดูแลระบบทางเดินหายใจที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมด้วยทันทีหลังผ่าตัด เทคนิคเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในปอดหลังผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์ช่วยผู้ป่วยโรคอ้วนหายใจในท่ายกสูง

ความเสี่ยง

ผู้ป่วยโรคอ้วนที่เผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือภาวะการหายใจที่ลดลงที่เกิดจากโรคอ้วน (OHS) อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในปอด (PPC) หลังผ่าตัดเนื่องจากความไวต่อยาจะทำให้ภาวะขาดออกซิเจนในเวลากลางคืนรุนแรงขึ้น 6

นอกจากนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันหลังการผ่าตัดและมีอัตราปอดบวมที่สูงขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคอ้วนจะมีภาวะปอดแฟบก่อนการผ่าตัดมากกว่าและยาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคอ้วน7 ซึ่งส่งผลให้ระบบหายใจทำงานมากขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยหายใจด้วยปริมาตรปอดที่ลดลง สิ่งนี้ยังเกี่ยวข้องกับการปิดทางเดินหายใจในช่วงต้น และข้อจำกัดของอัตราการไหลของการหายใจออกที่ส่งผลให้เกิด intrinsic PEEP (PEEPi) ปัจจัยเหล่านี้จะยิ่งแย่ลงหากผู้ป่วยอยู๋ในท่านอนหงาย ซึ่งเป็นความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในห้องพักฟื้น6

วิสัญญีแพทย์ตรวจสอบผู้ป่วยทันทีระหว่างการผ่าตัด

คำแนะนำ

ในแง่ของปัจจัยเหล่านี้ ควรให้ผู้ป่วยโรคอ้วนอยู่ในตำแหน่งที่สูง เช่น ท่านอนศีรษะสูง (reverse Trendelenburg position) หรือการยกศีรษะและลำตัวสูง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของความดันภายในช่องท้องที่มีต่อปอดและเพิ่มการเติมออกซิเจนและความยืดหยุ่นของปอด เครื่องอัดอากาศ​แรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP) และการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ (NIV) ถือว่ามีประโยชน์เพราะสามารถช่วยฟื้นฟูและรักษาปริมาตรปอดโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคอ้วนรุนแรง เมื่อเทียบกับการรอไปใช้ CPAP ภายนอกในห้องพักฟื้น การใช้ CPAP ทันทีหลังการนำท่อออกสามารถช่วยปรับปรุงสมรรถภาพปอด (spirometry) ได้ NIV ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและสามารถใช้ได้เช่นกัน การศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงที่ระบบทางเดินหายใจจะล้มเหลวหลังการเอาท่อออกลดลง 16% เมื่อใช้ NIV ทันทีหลังจากที่เอาท่อออกในผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย >35 นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ใช้การเริ่มเคลื่อนไหวและกายภาพบำบัดทรวงอกแต่เนิ่นๆ หลังการผ่าตัด6

ข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยี: รายงานการพักฟื้นของผู้ป่วยโรคอ้วน

ข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยี: การพักฟื้นของผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน

คุณสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยีการช่วยหายใจล่าสุดในเวิร์กสเตชันการดมยาสลบของเราสามารถช่วยให้กลยุทธ์การช่วยหายใจพร้อมการปกป้องประสบความสำเร็จได้อย่างไร และช่วยให้ผู้ป่วยโรคอ้วนเปลี่ยนมาหายใจด้วยตนเองในระหว่างพักฟื้นได้อย่างไร

ดาวน์โหลดรายงาน

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัด เครื่องดมยาสลบ Dräger Atlan

Dräger Atlan®

ความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัด

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ผู้ดูแลใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่มีการเชื่อมต่อ ณ จุดดูแลผู้ป่วย

อุปกรณ์การแพทย์ที่มีการเชื่อมต่อ

การนำสลบในผู้ป่วยเด็กในห้องผ่าตัด

การช่วยหายใจพร้อมการปกป้องปอดสำหรับการดมยาสลบในผู้ป่วยเด็ก

contact-us-hospital-us-2-16-9.jpg

Draeger Medical (Thailand) Ltd.

111 True Digital Park West, Unicorn Building, 9th Floor,
Sukhumvit Road, Bangchak, Phra Khanong,
Bangkok, 10260, Thailand

+66 2095 2100-3

Fax: +66 2095 2104 

ที่มา:

1 Candiotti K, Sharma S, Shankar R. Obesity, obstructive sleep apnoea, and diabetes mellitus: anaesthetic implications. Br J Anaesth 2009;103 (Suppl. 1):i23–30.

2 Ng M, Fleming T, Robinson M, et al: Global, regional, and national prevalence of overweight and obesity in children and adults during 1980-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013. Lancet 2014;384:766-781.

3 Pelosi P, Croci M, Ravagnan I, et al. The effects of body mass on lung volumes, respiratory mechanics, and gas exchange during general anesthesia. Anesth Analg 1998;87:654–60.

4 Pelosi P, Gregoretti C. Perioperative management of obese patients. Best Pract Res Clin Anaesthesiol. 2010;24(2):211–225.

5 Santesson J. Oxygen transport and venous admixture in the extremely obese. Influence of anaesthesia and artificial ventilation with and without positive end-expiratory pressure. Acta Anaesthesiologica Scandinavica 1976; 20: 387–94.