การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง: การช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ - ผู้ดูแลวางสายให้ออกซิเจน HI-Flow Star เพื่อให้การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง

การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง: การช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ

สอบถามผู้เชี่ยวชาญ

ข้อสรุป

การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงเป็นการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ ซึ่งจะจ่ายอากาศที่ผ่านการทำให้อุ่น มีความชื้น และมีออกซิเจนปริมาณมากแก่ผู้ป่วย โดยทั่วไปแล้วใช้กับผู้ป่วยที่สามารถหายใจได้เอง ผู้ซึ่งจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนที่มีอัตราการไหลเวียนสูงขึ้น การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงเป็นการช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยซึ่งมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และยังสามารถช่วยหลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจในภายหลังอีกด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การให้ออกซิเจน1และอัตราการหายใจที่ดีขึ้น2อาการหายใจลำบากที่ทุเลาลง3 และเพิ่มความสบายให้แก่ผู้ป่วย4 พร้อมกับช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหลังจากการนำท่อช่วยหายใจออก1,2 แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและระยะเวลาที่อยู่ห้อง ICU ลดลง4 การรักษาด้วยออกซิเจนวิธีนี้ยังช่วยประหยัดต้นทุนด้วย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และสามารถนำไปใช้ได้หลายแผนกในโรงพยาบาล

การช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการรักษาโดยใช้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง

ดูวิธีการที่จะนำการรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการช่วยหายใจโดยใช้หน้ากากซึ่งเป็นแบบไม่ใส่อุปกรณ์ในร่างกายและการช่วยหายใจแบบใส่ท่อแบบดั้งเดิมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านทางเดินหายใจ
กำลังมีการวางสายให้ออกซิเจนทางจมูก Hi-Flow Star

การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงสำหรับผู้ป่วยที่หายใจด้วยตนเองได้

การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงถูกนำมาใช้ในการรักษาร่วมกับสายให้ออกซิเจนทางจมูกด้วยอัตราการไหลสูงสำหรับจมูกสองข้างแบบพิเศษ (HFNC) และชุดวงจรช่วยหายใจเข้าแบบขดลวดทำความร้อน โดยใช้เพื่อจ่ายอากาศผสมที่ผ่านการทำความร้อนและความชื้น และออกซิเจนในอัตราการไหลเวียนสูง โดยทั่วไปแล้วจะตั้งค่าไว้ที่ 30 ลิตรต่อนาที และ 50 ลิตรต่อนาที อัตราการไหลเวียนสูงนี้ให้ออกซิเจนสำหรับการหายใจเข้าที่เข้มข้นและสม่ำเสมอกว่าการรักษาด้วยออกซิเจนตามปกติ และยังช่วยสร้างความดันบวกหลังสิ้นสุดการหายใจออก ระบบ HFNC ยังใช้เพื่อการกำจัดก๊าซ CO2 จากบริเวณปริมาตรสูญเปล่าในทางเดินหายใจขณะหายใจเข้าด้วยออกซิเจนปริมาตรมาก5 การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวเนื่องจากขาดออกซิเจนในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ สายให้ออกซิเจนอัตราการไหลเวียนสูงซึ่งเป็นวิธีการป้องกันระบบทางเดินหายใจล้มเหลวหลังนำท่อช่วยหายใจออก ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและมีความคงทนอย่างต่อเนื่องมากกว่าการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ (NIV)6

ผู้ป่วยได้รับการช่วยหายใจด้วยหน้ากาก ClassicStar แบบเต็มหน้าและไม่ใส่อุปกรณ์ในร่างกาย

การรักษาด้วยการให้ออกซิเจนตามปกติ คือการให้ออกซิเจนในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่พบในสภาวะโดยรอบ เพื่อการรักษาหรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจน โดยมีการใช้สายออกซิเจนแบบผ่านจมูกหรือหน้ากาก และมีประสิทธิภาพในการไหลเวียนอากาศสูงสุดที่ประมาณ 10 ลิตรต่อนาที ด้วยอัตราเช่นนี้ จะไม่เกิดการเพิ่มความดันในการหายใจออกอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดเมือกเมื่อบริเวณทางเดินหายใจแห้ง โดยทั่วไปแนะนำให้กำหนดค่าความชื้นของกระแสก๊าซในอัตราการไหลที่เกินสองลิตรต่อนาที ซึ่งทำได้โดยการทำให้ก๊าซเดือดจนเป็นฟองผ่านภาชนะบรรจุน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

ผู้ป่วยได้รับการช่วยหายใจด้วยหน้ากาก NovaStar แบบไม่ใส่อุปกรณ์ในร่างกาย

การรักษาด้วยแรงดันบวกในทางเดินหายใจต่อเนื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ยังรวมถึงการใช้ที่แนบสนิทกับใบหน้า อัตราการไหลเวียนก๊าซจะไม่สูงเท่ากับการรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง ความดันบวกหลังสิ้นสุดการหายใจออก PEEP (Positive End Expiratory Pressure) ถูกรักษาระดับให้คงที่ระหว่างใบหน้ากับจุดเชื่อมต่อที่อยู่เหนือจมูกหรือจมูกและปาก แต่ในบางครั้งหน้ากากที่แนบติดกับใบหน้าอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและ/หรือสร้างความกังวลให้กับผู้ป่วยบางคน และยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดการสูดสำลัก การรักษาวิธีนี้จำเป็นต้องมีเครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่อุปกรณ์ในร่างกายหรืออุปกรณ์การรักษา CPAP โดยเฉพาะ

ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงด้วยเครื่อง HI-Flow Star

การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงต้องใช้สายให้ออกซิเจนผ่านทางจมูก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายยิ่งขึ้น และสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานยิ่งขึ้น กระแสไหลเวียนก๊าซผ่านการทำความความชื้นและความร้อนในรูปแบบที่ควบคุมได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อเมือกหากบริเวณทางเดินหายใจแห้งและป้องกันความเสียหายที่เกี่ยวข้อง โดยต้องใช้แหล่งจ่ายออกซิเจนและเครื่องอัดอากาศและระบบทำความร้อน/ความชื้น

กรณีศึกษาเกี่ยวกับ Dräger Evita®

กรณีศึกษา: การใช้เครื่องช่วยหายใจ Dräger Evita® อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในปี 2014 โรงพยาบาล Glenfield ในเครือโรงพยาบาล University Hospitals Leicester ได้เปลี่ยนมาใช้ Dräger Evita ดูว่าการเปลี่ยนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน เพิ่มความสบายแก่ผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ดูแลใช้อุปกรณ์ได้ง่ายขึ้น จนนำไปสู่การรักษาที่ราบรื่นตลอดเส้นทางได้อย่างไร

ดาวน์โหลดรายงาน

"เช่นเดียวกับในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนักส่วนใหญ่ เราให้ความสนใจอยู่เสมอเกี่ยวกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้แก่ผู้ป่วยของเราให้เร็วที่สุด และเรามีนโยบายการหย่าตั้งแต่การช่วยหายใจแบบใส่ท่อจนถึงการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ และต่อด้วยการรักษาด้วยออกซิเจนที่มีการไหลสูงสำหรับผู้ป่วยบางคน"

Vicky Chamberlain นักเทคนิคด้านการดูแลผู้ป่วยหนักแห่งโรงพยาบาล Glenfield Hospital เมืองเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร

วิธีการใช้เครื่อง HI-Flow Star

เรียนรู้การใช้งานระบบจ่ายออกซิเจนทางจมูก HI-Flow Star ของ Dräger พร้อมด้วยเครื่องผสมออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ

แนะนำสำหรับดาวน์โหลด

เอกสารเกี่ยวกับการรักษาด้วยออกซิเจนแบบผสมผสาน
การรักษาด้วยออกซิเจนแบบผสมผสานสำหรับการดูแลระบบทางเดินหายใจ

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางล่าสุดในการใช้การรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงที่ได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีต่างๆ โดยมีการให้ออกซิเจนที่ดียิ่งขึ้น ปริมาตรปอดที่เพิ่มขึ้นหลังการนำท่อช่วยหายใจออก ผู้ป่วยรู้สึกสบายและทนต่อการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือเริ่มต้นใช้งาน HI-Flow Star ฉบับย่อ
คู่มือเริ่มต้นใช้งานฉบับย่อ

เริ่มต้นใช้งานอย่างรวดเร็ว เรียนรู้วิธีการต่อท่อหายใจเข้า HI-Flow Star ของ Dräger กับเครื่องผสมหรือเครื่องช่วยหายใจ

ดาวน์โหลดคู่มือ

รายการงานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับการรักษาด้วยออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง
รายการงานวิจัยที่ผ่านมา

ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโดยใช้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงหรือไม่ นี่คือรายการเอกสารสำหรับอ่านเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดรายการ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ดูแลปรับหน้ากากเต็มหน้า ClassicStar แบบ NIV เพื่อทำการรักษาด้วยการช่วยหายใจ

การช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ (NIV)

NIV คือรูปแบบของการช่วยหายใจที่ไม่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ ผู้ดูแลหลายคนหันมาใช้วิธี NIV กันมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการสอดท่อช่วยหายใจ ดูว่า NIV สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้ผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง

เส้นทางการหายใจ

ทางเลือกของคุณสำหรับทุกขั้นตอนการรักษา

คุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดเครื่องมือการรักษาของเราที่สนับสนุนการช่วยหายใจเฉพาะบุคคลตลอดทั้งเส้นทางการหายใจหรือไม่

contact-us-hospital-us-2-16-9.jpg

Draeger Medical (Thailand) Ltd.

111 True Digital Park West, Unicorn Building, 9th Floor,
Sukhumvit Road, Bangchak, Phra Khanong,
Bangkok, 10260, Thailand

+66 2095 2100-3

Fax: +66 2095 2104 

ที่มา:

1 Improvements in oxygenation
Corley 2011; Parke 2009; Roca 2010; Sztrymf 2011; Sztrymf 2011a

2 Respiratory rate
Corley 2011; Roca 2010; Sztrymf 2011; Sztrymf 2011a

3 Dyspnoea
Corley 2011; Roca 2010; Sztrymf 2011

4 Patient comfort
Corley 2011; Roca 2010; Tiruvoipati 2010

5 Itagaki T, Okuda N, Tsunano Y, et al. Effect of high-flow nasal cannula on thoraco-abdominal synchrony in adult critically ill patients. Respir Care. 2014;59:70–4

6 Helviz, Y., Einav, S., A Systematic Review of the High-flow Nasal Cannula for Adult Patients, Critical Care2018 22:71