การหย่าเครื่องช่วยหายใจ

อย่าพลาดโอกาสที่จะสร้างความคืบหน้าในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเวชบำบัดวิกฤตของคุณ เราเข้าใจดีว่าระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจควรนานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น มิฉะนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและความเสียหายของปอดจะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับระยะเวลาพักรักษาใน ICU ที่นานขึ้น ปัจจัยสำคัญในการหย่าเครื่องช่วยหายใจและการเอาท่อช่วยหายใจออกที่ประสบความสำเร็จคือกลยุทธ์แบบผสมผสานและการประเมินผู้ป่วยที่แม่นยำ

การช่วยให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จเป็นขั้นตอนที่สามของเส้นทางการหายใจ

เส้นทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ควรช่วยผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจให้เร็วและปลอดภัย เพราะ...

  • การเกิดภาวะปอดได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน (ALI) หรือภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) อาจชะลอกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
  • การนำให้เกิดการหย่าที่ล่าช้าอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
  • การตรวจหาปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จมากขึ้น และทำให้ระยะเวลาการอยู่ใน ICU สั้นลง

หกขั้นตอนของกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ขั้นตอนการดูแลรักษามีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การใส่ท่อช่วยหายใจ การเริ่มใช้เครื่องช่วยหายใจ การเริ่มต้นหย่าเครื่องช่วยหายใจ ไปจนถึงการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยสมบูรณ์ และสุดท้ายคือการนำท่อช่วยหายใจออกได้อย่างสำเร็จ

กระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Pulmovista 500 ช่วยให้คุณเห็นภาพการกระจายตัวของการระบายอากาศในปอด

Dräger PulmoVista® 500 ทำให้มองเห็นการช่วยหายใจได้

PulmoVista 500 ช่วยปรับการตั้งค่าการช่วยหายใจเพื่อให้ได้การช่วยหายใจที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยข้อมูลเฉพาะในพื้นที่ ข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง และข้อมูลที่อัปเดตอย่างต่อเนื่องที่ข้างเตียง

ชุดเครื่องมือการรักษาของเราเพื่อปกป้องปอด

การทำให้การหายใจของผู้ป่วยคงที่หมายถึงการรับทราบสถานะของปอดเป็นอย่างดีตลอดเวลา ให้ชุดเครื่องมือที่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพมาแล้วช่วยเหลือคุณ

VC-MMV AutoFlow

VC-MMV พร้อมด้วย AutoFlow (Volume Controlled - Mandatory Minute Volume) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านจากการหายใจแบบควบคุมเป็นการหายใจด้วยตัวผู้ป่วยเองพร้อมการช่วยหายใจแบบควบคุมปริมาตรอากาศต่อนาทีขั้นต่ำ

PC-BIPAP

PC-BIPAP เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ด้วยตนเองตลอดเวลาในระหว่างการช่วยหายใจแบบควบคุมแรงดัน

ระบบชดเชยท่อช่วยหายใจโดยอัตโนมัติ

ระบบชดเชยท่อช่วยหายใจโดยอัตโนมัติ (ATC) เพื่อลดการทำงานของการหายใจโดยใช้ท่อ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น

การวัดค่า P0.1 RSBi NIF

การวัดค่า P0.1, RSBI, NIF เพื่อช่วยในการกำหนดและประเมินความสามารถในการหายใจด้วยตนเองของผู้ป่วย

Draeger-SPN-CPAP NIV

SPN-CPAP-VS เพื่อรองรับการหายใจด้วยตัวผู้ป่วยเองด้วยการประกันปริมาตรลมหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง 

Draeger SPN-PPS Tube ATC Spont Breath II

SPN-PPS เพื่อผ่อนแรงผู้ป่วยแต่ละคนสำหรับการทำงานของการหายใจที่ยืดหยุ่นหรือต้านทานและเพื่อหลีกเลี่ยงการไม่สัมพันธ์กันกับการช่วยหายใจตามสัดส่วน

SPN-CPAP ATC Variable PS

การให้แรงดันแบบแปรผันเพื่อเพิ่มความแปรผันของปริมาตรลมหายใจเข้าออกในแต่ละครั้งซึ่งจะนำไปสู่การเติมออกซิเจนที่ดียิ่งขึ้น

ฟังก์ชั่นการติดตามที่ครอบคลุม

ฟังก์ชั่นการติดตามที่ครอบคลุม เช่น ระบบการบันทึกวงจรและแนวโน้มเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดย้อนหลังได้

Draeger Smart Pulmonary View III

ใช้ Smart Pulmonary View เพื่อแสดงภาพข้อมูลแบบเรียลไทม์และแปลงเป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พารามิเตอร์ไดนามิกของปอดที่รวดเร็วขึ้น

ดาวน์โหลด

คู่มือ Smart Care
คู่มือ Smart Care

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการช่วยหายใจพร้อมปกป้องปอด

ดาวน์โหลดคู่มือ

คู่มือการช่วยหายใจฉบับพกพา
คู่มือการช่วยหายใจฉบับพกพา

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการช่วยหายใจในคู่มือฉบับพกพาของเรา

ดาวน์โหลดคู่มือ

ติดตามตามเส้นทางการหายใจ

Draeger หลีกเลี่ยง

ขั้นตอนที่ 1 - ป้องกัน

Draeger ทำให้อาการคงที่

ขั้นตอนที่ 2 - ทำให้อาการคงที่

Draeger ฟื้นตัว

ขั้นตอนที่ 4 - ฟื้นตัว

เส้นทางการหายใจ

ทางเลือกของคุณสำหรับทุกขั้นตอนการรักษา

คุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดเครื่องมือการรักษาของเราที่สนับสนุนการช่วยหายใจเฉพาะบุคคลตลอดทั้งเส้นทางการหายใจหรือไม่

contact-us-hospital-us-2-16-9.jpg

Draeger Medical (Thailand) Ltd.

111 True Digital Park West, Unicorn Building, 9th Floor,
Sukhumvit Road, Bangchak, Phra Khanong,
Bangkok, 10260, Thailand

+66 2095 2100-3

Fax: +66 2095 2104